top of page

วันขึ้นปีใหม่

     วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัเริ่มแรก เมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่างๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทิน กับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือน เข้าไปอีก 1 เดือนเป็น 13 เดือนในทุกๆ 4 ปี

        ต่อมาชาวอียิปต์ กรีกและชาวเซมิคิคได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนีย มาดัวแปลงแก้ไขอีกหลายคราว เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุงในปีหนึ่งมี 365 วัน โดยทุกๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วันเพิ่มขึ้นอีก 1 วันเป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า "อธิกสุรทิน"

      เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทิน ก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาใน ปฏิทินยาว กว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทิน ของ ทุกๆ ปี จะเป็นช่วงที่มี เวลากลางวันและกลางคืนเท่าทัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรง ทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ.2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสัน

ตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไข หักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วัน หลังจาก วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 ) ปฏิทินแบบใหม่จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

bottom of page