
วันแรงงาน
![]() | ![]() | ![]() |
---|
ประวัติความเป็นมาวันแรงงาน
วันแรงงานในต่างประเทศเรียกว่าวันเมย์เดย์ (May Day) เป็นเริ่มเข้าสู่ฟดูกาลใหม่ในทางการเกษตร จึงมีพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริง มีการบูชาเทพเจ้า เพื่อขอให้ปลูกพืชได้ดีประเพณีนี้ยังคงมีปฏิบัติในอังกฤษ จนถึงปัจจุบัน
ส่วนในประเทศไทย ได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน ขึ้นในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นการ จัดสรร และพัฒนาแรงงานคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน สร้างรากฐาน กระบวนการส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรง
งานได้มีการจัดประชุมขึ้นและมีความเห็นว่าควรกำหนด วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกวันแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ทางราชการรับรอง วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติและต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ
ต่อมารัฐบาลไทยขยายกิจการ ด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้น และได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานปี พ.ศ. 2500 ได้มีพระราชบัญญัติแรงงานให้ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงาน ประจำำปี ในวันแรงงานแห่งชาติ คือวันที่ 1 พฤษภาคม
แต่เดิม การบริหารแรงงานขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่ต่อมารัฐบาล เล็งเห็นว่า งานบริหารด้านแรงงานควรมีการคุ้ม
ครอง ผู้ใช้แรงงานให้มีสิทธิภาพทั่วถึงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 จึงมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้จัดตั้ง กระทรวงแรงงานและสวัสดิภาพสังคมขึ้น เพื่อให้การบริหารงานได้มีความก้าวหน้าทัดเทียมประเทศอื่นๆ
วัตถุประสงค์ของวันแรงงานแห่งชาติที่กำำหนดขึ้น ก็เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงาน ที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของประชาชน ทุกวันนี้ผู้ใช้แรงงานมีส่วนสร้างขึ้นวันแรงงานถือเป็นเรื่องของแรงงานโดยเฉพาะ
กิจกรรม
กิจกรรมต่างๆ ในวันแรงงานแห่งชาติได้แก่ การทำบูญตักบาตรตามประเพณีไทย มีนิทรรศการแสดงความรู้ และกิจกรรมของแรงงาน มีการอภิปราย การละเล่นต่างๆ และนายกรัฐมนตรีจะกล่าวคำปราศรัยต่อพี่น้องแรงงานทั่วราชอาณาจักร