top of page

วันฉัตรมงคล

ประวัติความเป็นมาวันฉัตรมงคล

     การจัดพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพิธีการจัดขึ้นเพื่อต้อนรับประมุขของประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีมา ตั้งแต่ครั้ง พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษก พ่อขุนบางกลางหาวหรือพ่อขุนบางกลางท่าวให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย ดังปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท

     ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีพระองค์ได้ทรงฟื้นฟู วัฒนธรรมของ

ชาติทุกสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูพระราชพิธีพระบรมราชภิเษกให้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

    พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกจะไม่ใช้คำว่า" พระบาท "นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" และ คำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า "พระบรมราชโองการ" และที่สำคัญ อีกประการหนึ่งก็คือจะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 9 ชั้น

    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณ ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นวันจุดเทียนชัยและวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นวันประกอบพิธีบรมราชาภิเษก

    พระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม เมื่อปี พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงทำพิธีพระบรมราชภิเษก เสด็จขึ้นครองราชเป็นลำดับที่ 9 แห่งราชวงค์จักรี จึงถือว่า วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันมงคลสมัย พสนิกร และรัฐจึงได้ร่วม กันจัดพระราชพิธี ขึ้นเรียกว่า " รัฐพิธีฉัตรมงคล" บ้างก็เรียกว่า "พระราชพิธีฉัตรมงคล"

    ครั้งก่อน ก่อนสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่มีพิธีนี้ คงมีแต่พนักงานฝ่ายหน้า ฝ่ายในพระบรมมหาราชวัง จัดงานสม

โภชเครื่องราชูปโภค และตำแหน่งซึ่งตนรักษามา ในเดือนหกทางจันทรคติ สมัยนั้นไม่ถือเป็นงานหลวงกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาพิเษก เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2394 แล้ว พระองค์ทรงพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษก เป็นมงคลสมัยประเทศทั้งหลายที่มีพระเจ้าแผ่นดินครองประเทศ ย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาลต่างก็จัดงานขึ้นเป็นอนุสรณ์ ส่วนในประเทศของเรายังไม่มี ควรจะจัดขึ้นแต่ประกาศแก่คนทั้งหลาย ว่าจะจัดงานวันบรมราชาภิเษก หรืองานฉัตรมงคล ผู้คนในขณะนั้นยังไม่คุ้นเคย ย่อมไม่เข้าใจจะต้องทรงอธิบายชี้แจงยืดยาว จึงโปรดให้เรียกชื่อไปตามเก่าว่างานวันสมโภชนเครื่องราชูปโภคแต่ทำในวันคล้ายวันราชาภิเษก นิมนต์พระมาสวดมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 รุ่งขึ้นพระสงฆ์ฉัน ที่พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท

พระราชพิธีบรมราชภิเษก 
   สำหรับขั้นตอนพิธี ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 5 ลำดับดังนี้

  1. ขั้นเตรียมพิธี การตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษกและน้ำสรงมุรธาภิเษกสำหรับน้ำอภิเษกนั้น แต่เดิมจะใช้น้ำจากแม่น้ำสาย หรือ ปัญจมหานที ในชมพูทวีป คือ คงคา ยมนา อิรวดี สรภู และมหิ แต่ในรัชกาลปัจจุบันจะตักน้ำมาจากสถานที่สำคัญ 18 แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ ตามจังหวัดต่างๆ แล้วส่งเข้ามาเจือปน เป็นน้ำมุรธาภิเษก 

bottom of page