top of page

วันทหารผ่านศึก

ประวัติความเป็นมาวันทหารผ่านศึก

     หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลงมีทหารไทยจำนวนมากได้ถูกปลดปล่อยในการจากเป็นทหาร จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางราชการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
     ดั้งนั้น ในปี พ.ศ. 2490  กระทวงกลาโหมอันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้โดยตรง  จึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่กลับจากการปฏิบัติการรบและช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ แต่ก็ยังเป็นหน่วยงานที่ยังไม่เป็นทางการ
     ต่อมา กระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบทางรัฐบาลและได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 จึงได้ยึดถือเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก โดยมีพลโท ชมะบูรณ์ ไพรีระ

ย่อเดชเป็นผู้อำนวยการคนแรก
     ในปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุด

หนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำำหนดให้เป็นครั้งคราว
     ภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก ได้แก่ การให้การสงเคราะห์แก่ทหารที่ผ่านการปฏิบัติการรบและครอบครัวของทหารที่ปฏิบัติการรบซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภทคือ
1. การสงเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ เป็นการสงเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไป 
ที่อยู่อาศัย การศึกษา ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านอวัยวะเทียม
2. การสงเคราะห์ทางด้านอาชีพ โดยการฝึกอบรมและการฝึกอาชีพให้ความช่วยเหลือในด้านการทำงานจัดหางานให้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม จัดสรรที่ทำกินในด้านเกษตรกรรมให้และให้ความช่วยเหลือทางด้านเครื่องมือและวิชาการ
4. การสงเคราะห์ด้านกองทุน โดยการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกขององค์การทหารผ่านศึกได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ
5. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลให้แก่สมาชิกโดยไม่คิดมูลค่า
6. ให้มีการส่งเสริมสิทธิของทหารผ่านศึก โดยการขอสิทธิพิเศษในด้านต่างๆ ให้แก่ทหารผ่านศึกเช่น การขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผู้เสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยและอธิปไตยของชาติ

bottom of page