top of page

วันอนุรักษ์มรดกโลก

ประวัติความเป็นมาวันอนุรักษ์มรดกโลก

      ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมไทยนับเป็นสิ่งสำคัญในยิ่งในอันที่จะหล่อหลอมชาวไทยในภูมิภาคต่างๆ ให้เกิดความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียว
      แต่จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็วมีผลทำให้มรดกทางวัฒนธรรมในแขนงต่างๆ นับตั้งแต่โบราณวัตถุโบราณสถาน
ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิต ค่านิยมและระบบประเพณีต่างๆในท้องถิ่นได้รับผลกระทบและถูกละเลยทอดทิ้งและแม้ว่าในภาครัฐบาล

จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยตรงแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ทันเหตุการณ์ได้ จึงจำเป็นต้องหามาตรการในการ

ที่จะประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติให้มากขึ้น
       กรมศิลปากรจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบในการที่จะกำหนดช่วงเวลาที่แน่ชัดในรอบปีหนึ่งๆ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติเพื่อให้เกิดแนวความคิดความต้องการในอันที่จะทำนุบำรุงรักษาโบ

ราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ
       ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528  ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯองค์เอกอัคราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทยเป็นวันอนุรักษ์มรดกไทยด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมของพระองค์ และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุเคราะห์และสนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติตลอดมาและในวันที 23 กรกฎาคม 

2532 ได้มีการจัดตั้งกองทนุอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย

1.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
2.เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี
3.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถานโบราณวัตถุ และร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาไว้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น
4.เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
5.เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง
6.เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนแปลงทิศทางไปในวันอนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดต่างๆ ทั่วประ

เทศได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทีสร้างเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมเช่นการจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ทัศนศึกษาโบราณสถานและสถานสำคัญทางศาสนา

bottom of page