top of page

วันครู

ความเป็นมาของวันครู
      ในปีพ.ศ.2499 จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะ กำหนดให้มีวันครู และเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป  

      ดังนั้นในวันที่ 21 พศฤจิกายน พ.ศ.5499 คณรัฐมนตรีได้มีมติ กำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปีพ.ศ.2488 นั้น ซึ่งระบุให้มีกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่าคุรุสภา เป็นนิติบุคลคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกวุฒิสภา โดยมีหน้าที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยา และวินัยของครู รัประวัติความเป็นมากษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

       ในทุกๆ ปี คุรุสภาได้ให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาศให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ แถลงผลงาน ในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินของคุรุภา 

คำปฏิญาณ

ข้อที่ 1 ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

ข้อที่ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

ข้อที่ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม 

กิจกรรมต่างๆที่ควรปฏิบัติในวันครู

1. ร่วมกิจกรรมทางศาสนา ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรดาบูรพาจารย์ที่ล่วงลับ
2. ส่งบัตรอวยพร หรือไปเยี่ยมเยือนครู-อาจารย์ที่เคยให้ความรู้อบรมสั่งสอนเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดี และแสดงความกตัญญูกตเวที
3. ร่วมพิธีบูชาบูรพาจารย์
4. ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น เช่น นิทรรศการเกี่ยวกับครู การเรียนการสอน หรือกิจกรรมการกุศลที่หารายได้สมทบกองทุนช่วยเหลือครู เป็นต้น 

bottom of page