top of page

วันกองทัพไทย

ประวัติความเป็นมาวันกองทัพไทย

         กระทรวงกลาโหมได้กำำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยน โดยให้ถือเอา วันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากวันที่ 25 มกราคม 2135 เป็นวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ที่ตำบล หนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี ได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติสูงสุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่สมควรจะน้อมรำลึกถึงวีรกรรม อันยิ่งใหญ่ของพระองค์ และกองทัพไทยในครั้งนั้นและผลแห่งชัยชนะ ในครั้งนั้น ทำให้ข้าศึกไม่กล้าเข้ามารุกรานไทยทุกทิศทางเป็นเวลานานถึง 150 ปี 

สงครามยุทธหัตถี

       เมื่อกรุงหงสาวดีของพม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ พระเจ้านันทบุเรงขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อมา ทางพม่าได้แจ้งข่าวการ เปลี่ยนรัชกาลไปยังประเทศราช โดยให้ผู้ปกครองประเทศราชไปเฝ้าตามราชประเพณีในครั้งนั้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดให้พระนเรศวร ราช

โอรสเสด็จขึ้นไปแทนพระองค์เสด็จถึงเมืองแครง บังเอิญทรงทราบถึงแผนการของพม่าซึ่งคิดประทุษร้ายต่อพระองค์จากบุคคลสำคัญ ทางมอญที่สนิทสนมได้ลอบมาทูลก่อนที่จะถึงเมืองพม่า ด้วยเหตุนี้พระนเรศวรจึงทรงถือโอกาสประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 แยกราชอาณาจักรศรีอยุธยาออกเป็นอิสรภาพจากพม่าแล้วจึงยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนใกล้จะถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีได้รบพุ่งมีชัยชนะ ได้เมืองอังวะแล้วจวนใกล้จะยกทัพกลับคืนพระนคร พระนเรศวรทรงเห็นว่าการจะตีเมืองหงสาวดีในครั้งนี้คงยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันไปบอกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนเอาไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้อพยพกลับได้ครอบครัวกลับมาตุภูมิเดิมถึง 10,000 เศษ ฝ่ายพระมหาอุปราชได้ทราบข่าวจึงยกมาเป็นทัพหลวงยกติดตามพระนเรศวรมา โดยให้สุรกรรมาเป็นกองทัพหน้าครั้นกองหน้ามาถึงแม่น้ำสะโตงเมื่อพระนเรศวรยกทัพมาข้ามฟากมา ได้แล้ว จึงยิงต่อสู้กันอยู่ที่ริมแม่น้ำ พระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนกระบอกหนึ่งยาว 9 คืบ ถูกสุรกรรมานายทัพหน้าของข้าศึกตายอยู่กับคอช้าง พวกรี้พลเห็นนายทัพตายก็ครั่นคร้ามเลิกทัพกลับไปพระแสงปืนที่พระนเรศวรยิงถูกสุรกรรมาตายนั้นได้มีนามปรากฏว่า"พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธอันเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับแผ่นดินสืบมาตราบจนกาลปัจจุบัน


กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันกองทัพไทย

  • การทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล และส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ
  • ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

  • จัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับความเป็นมาของความกล้าหาญแห่งวีรกษัตริย์ไทย และวันกองทัพไทย 

bottom of page