top of page

วันแห่งความรัก

ประวัติความเป็นมาวันนักประดิษฐ์

        วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์ และเป็นวันแห่งความรักที่หนุ่มสาวทั่วโลกจะแสดงความรัก โดยการส่งดอกไม้ การ์ดที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจสีแดงมีคำอวยพรที่เกี่ยวข้องกับความรักและมอบของขวัญให้กัน วันแห่งความรักไม่ได้เป็นวันแสดงความรักของหนุ่มสาวเท่านั้นแต่หมายถึงใครก็ได้ที่มีความรักให้กับผู้อื่น ดังนั้นวันวาเลนไทน์จึงถูกเหมารวมให้เป็นตัวแทนของความรักในหมู่ครอบครัวญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือแม้แต่คนใกล้ชิด โดยไม่จำกัด อายุและวัย

        วันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรักเริ่มต้นขึ้นจากวันเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงคริสเตียน 2 คน ที่เสียสละเพื่อมนุษย์ชื่อ วาเลนไทน์ (Valentine) แต่ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันนี้ไม่ได้เกี่ยวพันกับนักบุญเหล่านี้ ประเพณีที่บางทีมาจากประเพณีโรมันโบราณที่เรียกว่าลูเปอร์คาเลีย (Lupercalia ) ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นการบูชาเทพธิดาจูโนซึ่งชาวโรมันถือว่าเป็นเทพธิดาแห่งสตรีและการแต่งงานและเทพบุตรแพน ซึ่งเป็นเทพบุตรแห่งธรรม

ชาติ ชาวโรมันฉลองวันลูเปอร์คาเลียเป็น ประเพณีแห่งความรักของหนุ่มสาวชายหนุ่มและหญิงสาวจะเลือกคู่สำหรับ ประเพณีนี้โดยการเขียนชื่อตนใส่กล่องและจับฉลาก เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความรักและปกติเขาจะคงติดต่อสัมพันธ์กัน เป็นเวลานานหลังจากประเพณีนี้ผ่านไปแล้ว หลายคู่ก็จะลงเอยด้วยการแต่งงานกัน หลังจากที่ความเป็นคริสเตียนแพร่หลายออกไปในหมู่ของชาวโรมันผู้ที่นับถือศาสนาแล้วพยายามให้วันนี้มีความสำคัญ ทางศาสนามากขึ้น ดังนั้นในปี ค.ศ. 496 สันตปาปาเกลาซิอุสได้เปลี่ยนวันฉลองเทศกาลลูเปอร์คาเลียจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มาเป็นวันนักบุญวาเลนไทน์ ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แต่ความหมายในความรู้สึกเดิมว่าเป็นวันแห่งความรักยังมีอยู่ตามเดิมจนถึงปัจจุบัน

         อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์ยังเห็น ไม่ตรงกันว่าใครคือนักบุญวาเลนไทน์ที่แท้จริงเพราะมีนักบุญชื่อว่าวาเลนไทน์ 2 องค์ องค์แรกเป็นพระมีชีวิตอยู่ในกรุงโรม ระหว่าง ค.ศ. 200 ในสมัยของจักรพรรดิ์คลอดิอุสที่ 2 ปกครองอาณาจักรแต่ชาวโรมันไดจับนักบุญนี้ไปขังคุกในฐานที่ช่วยชีวืตนักโทษประหารที่เป็นชาวคริสต์และยังเชื่อว่านักบุญผู้นี้ช่วยรักษาหญิงสาวตาบอดลูกผู้คุมนักโทษให้หายได้ ต่อประมาณ ค.ศ. 270 ชาวโรมันได้ตัดหัวนักบุญผู้นี้ที่เขาพาลาตน ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพบุตรจูโน และอีกหลายปีต่อมาชาวคริสต์ ได้ตั้งชื่อประตูในกรุงโรมแห่งหนึ่งว่า ปอร์โต วาเลนตินี ตามชื่อนักบุญ วาเลนไทน์ และต่อมาประตูแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปอร์โต เดล โปโปโล สำหรับกระดูกของนักบุญวาเลนไทน์ได้นำไปฝังไว้ที่โบสถ์ เซนต์ปาเซเดสในกรุงโรม

bottom of page