
วันศิลปินแห่งชาติ
![]() | ![]() | ![]() |
---|---|---|
![]() | ![]() | ![]() |
ประวัติความเป็นมาวันศิลปินแห่งชาติ
"ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เอกราชเอกลักษณ์เอกศักดิ์ศรี
เป็นคันฉ่องส่องงามและความดี เป็นโคมฉายช่วยชี้วิถีชน..."
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พูดถึงศิลปินแห่งชาติไว้ว่า งานศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญา และความสามารถของมนุษย์เป้าหมายของงานศิลปะก็เพื่อประโยชน์ แก่ชีวิตงานวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องของวิถีชีวิต ที่มนุษย์ดำรงอยู่เป็นครอบครัว ชุมชน สังคมชาติ ส่วนงานศิลปะมุ่งเน้นไปที่ความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะปรุงและปรับ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีกว่าของชีวิตมนุษย์ในทุกๆ ด้านทั้ง กาย ใจ และปัญญา ผู้สร้างงานศิลปะเราเรียกว่า"ศิลปิน"
เป็นศิลปินแห่งชาติจึงหมายถึงผู้สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นประโยชน์แก่สังคมหรือแก่ชนในชาติ โครงการศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้นด้วยเจตนารมณ์จะยก
ย่องเชิดชูบุคคลผู้สร้างสรรค์งานศิลปะทุกแขนง อันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สมควรกับฐานะศิลปินแห่งชาติ
โครงการศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้นจากมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ให้ถือเอาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวัน "ศิลปินแห่งชาติ" เพราะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งทรงเป็นปฐมบรมศิลปิน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระปรีชาสามารถใน การสร้างสรรค์ศิลปะด้านต่างๆ เช่น ด้านกวีนิพนธ์บทละครไว้ถึง 7 เรื่อง โดยเฉพาะบทละครเรื่องอิเหนาเป็นเรื่องที่แต่งดีพร้อม ทั้งความ ทั้งกลอน และกระบวนที่จะเล่นละครวรรณคดีสโมสรได้ตัดสินให้เป็นยอดของละครรำ เมื่อพุทธศักราช 2459 ทรงมีพระปรีชาทางด้านดนตรี ซอสามสายคู่พระหัตถ์คันหนึ่งชื่อ "สายฟ้าฟาด" เป็นซอที่ทรงบรรเลงบุหลั่นเลื่อนลอย หรือเพลงพระสุบินมาแล้ว ทางด้านสถาปัตยกรรมทรงขึ้นพระ
หัตถ์พระประธานในพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามซึ่งทรงถวายพระนามว่า "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" ฝีพระหัตถ์ในการปั้นของพระองค์นับว่าเป็นเยี่ยม นอกจากทรงปั้นพระพักตร์พระพุทธรูปก็ยังมีหน้าหุ่นที่เรียกกันว่า พระยารักใหญ่ พระยารักน้อย ซึ่งทรงและด้วยฝีพระหัตถ์จากไม้รัก ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นภาพป่าหิมพานต์เป็นต้น นับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องของศิลปะอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง ยากที่จะหาผู้ใดมาทัดเทียมได้สมควรแก่การยกย่อง ให้เป็นองค์ปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช พ.ศ. 2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา "อัครศิลปิน" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลปัจจุบัน ณ พระตำำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต คำว่า "อัครศิลปิน" แปลว่า ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันทรงเป็นเอตทัตตะ ในศิลปะหลายสาขาเป็นต้นว่า ดุริยางคศิลป์ทัศนศิลป์ และนฤมิตศิลป์ เป็นต้น
คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ 7 ประการ คือ
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
-
เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวางการศิลปินแขนงนั้น
-
เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
-
เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
-
เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
-
เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
-
เป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติออกเป็น 4 สาขาคือ
- สาขาทัศนศิลป์
-
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
-
สาขาวรรณศิลป์
-
สาขาศิลปะการแสดง